พืชช่วยลดมลพิษในอาคาร
โดย ปิยะนุช เหรียญรุ่งเรือง
โรคแพ้ตึก !?
โรคแพ้ตึก หรือ Sick Building Syndrom (SBS) เป็นโรคที่มักเกิดขึ้นในคนที่อยู่ใน อาคาร บ้าน หรือสำนักงาน อาการของโรค คือ ปวดศีรษะบริเวณหน้าผาก เหนือกระบอกตา ทั้งสองข้าง หรือบริเวณต้นคอ ระคายเคืองตา จมูก คอ ระบบทางเดิน หายใจมีปัญหา หืด หอบ อาการทาง ประสาทผิดปกติ ไซนัส อาการเซื่องซึม มีผื่นคัน ตามผิวหนัง ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจแสดง บางอาการหรือหลาย ๆ อาการร่วมกัน แต่เมื่อออกมาจาก สถานที่เหล่านั้นแล้วอาการจะทุเลาลง หรือหายไป และหาก เข้ามาอีกก็จะเกิดอาการต่าง ๆ ขึ้นมาได้อีก
สาเหตุของโรคนี้เกิดจากอะไร
1.การระบายอากาศภายในตึกหรือในอาคารไม่ดีพอ ในปัจจุบันการออกแบบตึกพยายามที่จะลดการนำอากาศจากภายนอกเข้ามาในตัว อาคาร ระบบ ปรับอากาศภายในต้องอาศัยอากาศที่มาจากเครื่องปรับอากาศแต่เพียง อย่างเดียว ทำให้มลพิษ ต่างๆ ถูกสะสมอยู่ภายในอาคารได้มาก
2.การปล่อยสารพิษของเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ ไม้อัดและกระดานไฟเบอร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่่ถูกผลิต มาจากเศษไม้ หรือเศษพลาสติกไฟเบอร์นำมาอัดให้แน่นติดกันแล้วยึดกันเข้าด้วย กาว เรซิน หรือยางสังเคราะห์ โดยที่สารสังเคราะห์เหล่านี้ ล้วนปล่อย
สารพิษ ออกสู่อากาศ
3.สิ่งมีชีวิต
มนุษย์เองก็เป็นแหล่งกำเนิดมลภาวะจากการหายใจ ผายลม ฯลฯ รวมทั้งสารเคมี บางอย่าง เช่น น้ำยาทาเล็บ เครื่องสำอางต่าง ๆ ควันบุหรี่ เตาหุงต้ม รวมทั้งเชื้อโรค เชื้อรา ไรฝุ่นตามพรมหรือ เครื่องเรือน แมลงสาบ มด ปลวก
ต้นไม้มีส่วนช่วยในการฟอกอากาศได้อย่างไร
เราเรียนมาตั้งแต่เด็กว่า ต้นไม้มีกลไกการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำให้เกิดการกำจัดก๊าซ
คาร์บอน ไดออกไซด์ ผลิตออกซิเจน แต่นอกจากนี้ ต้นไม้ยังสามารถดูดสารพิษต่าง ๆ ได้ เช่น ดูดซับเอา มลภาวะจากน้ำและดินผ่านทางรากของมัน ดินและวัสดุปลูกหลายชนิด เช่น ถ่าน ก็มี ความ สามารถในการดูดซับกลิ่นและมลภาวะต่างๆได้ดี จึงช่วยปรับปรุง คุณภาพ
อากาศ ภายในให้ ดีขึ้นได้ นอกจากนี้ การคายน้ำของพืชยังช่วยรักษา ความชุ่มชื้น
ในอากาศได้อีกด้วย
การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
พืชโดยทั่วไป จะมีการดูดคาร์บอนไดออกไซด์เข้าทางใบ และดูดน้ำเข้าทางราก จากนั้นจึง เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ให้กลายเป็นน้ำตาลกับออกซิเจน น้ำตาลนั้นจะถูก นำไป ใช้ในกระบวนการภายใน และการเจริญเติบโตของพืช ส่วนออกซิเจนก็จะถูก ปลดปล่อย
ออกมา ให้สิ่งมีชีวิตอื่นได้ใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ จะเกิดในเวลา
กลางวัน เพราะต้อง ใช้พลังงานจากแสงเป็นตัวกระตุ้น จึงเรียกว่า “กระบวนการ
สังเคราะห์ด้วยแสง”
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า พืชจะรับคาร์บอนไดออกไซด์เข้าทางใบ ทุกครั้งที่พืชเปิดปากใบ เพื่อรับ คาร์บอนไดออกไซด์ พืชจะต้องสูญเสียน้ำออกไปทางปากใบเช่นกัน พืชบางชนิด
ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นพืชในทะเลทราย จึงมีการปรับตัวให้เปิดปากใบในเวลากลางคืนและปิดใน
ตอนกลางวัน เพื่อ ลดการคายน้ำ ทำให้สามารถรักษาน้ำไว้ใช้ในกระบวนการต่าง ๆ
ขณะเดียวกัน ก็ยังสามารถ ผลิตน้ำตาลและออกซิเจนได้ตามปกติ ตัวอย่างของพืชเหล่านี้ เช่น กระบองเพชร สับปะรดสี ว่านหางจระเข้ ป่านศรนารายณ์ กล้วยไม้ เป็นต้น
พืชที่นิยมปลูกภายในอาคาร
พืชที่ถูกเลือกเข้ามาปลูกภายในอาคาร มักต้องมีคุณสมบัติปลูกง่ายและทนทาน ไม่ต้องการ แสงมาก ขณะเดียวกันก็มีความสวยงามอยู่ในตัว เช่น ลิ้นมังกร เศรษฐีเรือนใน เป็นต้น
1. ลิ้นมังกร (Mother-in-law’s tongue)
ต้นลิ้นมังกรมีลักษณะเป็นกาบ ใบแข็งเหมือนลิ้นงูหรือลิ้นมังกร ต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบกว้าง ประมาณ 2 นิ้ว ถ้าปลูกได้สมบูรณ์ ต้นจะแตกกอดี และมีดอกเป็นช่อ สีขาวอมเขียว ดอกหอม อ่อน ๆ การปลูกควรใช้ดินร่วนซุย ไม่ต้องรดน้ำบ่อย ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
ลิ้นมังกรจะคายก๊าซออกซิเจนและดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เวลากลางคืน จึงเหมาะสมที่จะ นำมาตั้งไว้ในห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น
2. กล้วยไม้ (Orchids)
กล้วยไม้เป็นพืชที่ต้องการความชื้นค่อนข้างสูง แต่ไม่แฉะ คือต้องระบายอากาศได้ดี และ
ไม่ชอบแสงแดดจัด กล้วยไม้ส่วนใหญ่มีดอกที่สวยงาม และบานอยู่ได้นานเป็นเดือน กล้วยไม้
จะคายก๊าซ ออกซิเจนและดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางคืนเช่นเดียวกัน ตัวอย่างกล้วยไม้ที่รู้จัก กันโดยทั่วไป เช่น รองเท้านารี กล้วยไม้หวาย แคทลียา แวนด้า ฟาแลนนอปซิส เป็นต้น
กล้วยไม้ที่เหมาะสมต่อการปลูกในอาคาร มักเป็นกล้วยไม้กึ่งดิน เช่น หวาย ฟาแลนนอปซิส เพราะสามารถจัดวางในกระถางได้ง่าย และไม่เลอะเทอะ อีกทั้งการปลูกในวัสดุเช่น กาบมะพร้าว ถ่าน เม็ดดินเผา ยังมีสมบัติในการดูดกลิ่นและสารพิษต่างๆได้ดีอีกด้วย
3. เศรษฐีเรือนใน (Airplane plant
ไม้กอ สูงประมาณ 1 ฟุต ใบยาวแหลม มีแถบสีเหลืองตรงกลางใบ ชอบแสงแดดอ่อน ๆ ไม่ต้อง การน้ำมาก เพราะไม่ค่อยคายน้ำเท่าใดนัก แต่มีการดูดสารพิษภายในอาคารได้ดีมาก โดยมี ประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสารฟอร์มาดีไฮด์ออกจากอากาศ (ฟอร์มาดีไฮด์ มักถูก
ปลดปล่อย จากไม้อัด ปาร์ติเกิ้ลบอร์ดและพลาสติก) จึงเหมาะแก่การนำมาปลูกในห้อง
ที่มีเฟอร์นิเจอร์ใหม่ ๆ
4. สาวน้อยประแป้ง
สาวน้อยประแป้งเป็นไม้ประดับที่ปลูกได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร เป็นไม้ที่ปลูก
เลี้ยงง่าย และมีใบสวยทน คุณสมบัติ
ของสาวน้อยประแป้งที่ช่วยลดมลภาวะคือ ช่วยลด
ไซลีน/โทลูอีน ที่เกิดจาก พาร์ติเคิลบอร์ด ไม้อัด เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ สีทาห้อง ในอัตราที่สูง เพราะมีใบขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับต้นไม้ ควรหมั่นเช็ดใบด้วยผ้า
หรือฟองน้ำที่ชุบ น้ำหมาด ๆ
4. พลูด่าง (Epipremnum aureum)
ตัดเถาพลูด่างยาวประมาณ 1 ฟุตแล้วปักลงในถ้วยแก้วที่ใส่น้ำไว้ วางบนโต๊ะทำงาน พลูด่างจะ แตกรากออกมาในไม่ช้าและสามารถอยู่ได้เป็นปี พลูด่างช่วยลดก๊าซ
คาร์บอนมอนอกไซด์ได้ดี และช่วยลดแอมโมเนีย ที่เกิดจากเครื่องถ่ายเอกสาร น้ำยา
ทำความสะอาด และเครื่องถ่าย พิมพ์เขียว แต่มีข้อควรระวัง คือ น้ำยางของต้นไม้ชนิดนี้ ถ้าสัมผัสถูกจะทำให้เกิดผื่นคัน ระคายเคืองได้ เพราะเป็นพืชวงศ์เดียวกับเผือก บอน
5. เดหลี (Spathiphyllum sp.)
ดอกมีลักษณะคล้ายดอกหน้าวัว มีสีขาวหรือขาวแกมเหลือง ใบสีเขียวเข้มเป็นเงาวาว มีความ สามารถสูงในการดูดสารพิษในอาคาร เช่น กาว อาซีโตนซึ่งมีอยู่ในเครื่องสำอาง น้ำยาทาเล็บ น้ำยาลบคำผิด สารไตรคลอโรเอทีลีน ซึ่งมีอยู่ในเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่าย
เอกสาร เตาแก๊ส น้ำยา เคลือบเงาไม้ รวมทั้งเบนซินและฟอร์มาดีไฮด์ อีกทั้งยังเป็น
พืชที่คายความชื้นสูง ทำให้อากาศ ภายในอาคารชุ่มชื้น เดหลีเป็นพืชที่ชอบแสงแดดรำไร ต้องการน้ำปานกลาง จึงควรรดน้ำ อย่างสม่ำเสมอ
6. พืชอื่นๆ ที่สามารถใช้ดูดมลพิษภายในอาคาร
เอกสารอ้างอิง
อานุช แก้ววงค์. ต้นไม้กับการป้องกันโรคแพ้ตึก .
www.sci.tsu.ac.th/sciptl/radio/tape047/ tree.doc
พีรกิตติ์ คมสัน. ต้นพลูด่างช่วยขจัดมลพิษภายในอาคารได้.
http://se-ed.net/peerakitk/main/komson/pothos.doc
ไม่ระบุผู้แต่ง. ข่าวบริการ. www3.si.mahidol.ac.th/division/ophs/div_newsdetail.asp?div_id=34&n_id=17 |